เจาะลึกโรคของตา

เจาะลึกโรคของตาที่หลายคนไม่รู้จัก

ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพตา นับว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนเคยประสบปัญหากันมา
ไม่ว่าจะเป็นตาแห้ง กล้ามเนื้อรอบดวงตาอ่อนล้า การติดเชื้อที่ตา หรือความผิดปกติอื่นที่รุนแรง
อาทิเช่น ต้อกระจก หรือจอประสาทตาเสื่อม จนถึงขั้นตาบอดมองไม่เห็น ด้วยเหตุนี้เราจึงอยากอธิบายความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคตา รวมไปถึงกลุ่มอาการต่างๆ ดังแสดงตารางนี้


โรคสายตาสั้น (Nearsighted Myopia)

 ลักษณะของโรค

อาการแสดงหรืออาการเตือน

สาเหตุของโรค

การมองเห็นสิ่งของในระยะไกลไม่ชัด ต้องเพ่งมองสิ่งของหรือเข้าใกล้อย่างมาก เพื่อให้เห็นภาพหรือสิ่งของให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ต้องนั่งใกล้จอโทรทัศน์ กระดาน หรือถือหนังสือเข้ามาใกล้ตา

การใช้สายตาเพ่งมากเกินไป ไม่ว่าดูโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์ทำให้ต้องโฟกัสไปที่ภาพนั้นเป็นเวลานาน

  • เกิดจากกรรมพันธุ์


โรคสายตายาว (Farsighted, Hyperopia)

 ลักษณะของโรค อาการแสดงหรืออาการเตือน สาเหตุของโรค
การมองเห็นสิ่งของในระยะใกล้ไม่ชัด • ปวดศีรษะและปวดตึงบริเวณดวงตา โดยเฉพาะหลักการเพ่งอ่านตัวหนังสือในระยะใกล้ • โดยปกติเกี่ยวข้องกับอายุ 40ปีขึ้นไป

โรคต้อกระจก (Cataract)

 ลักษณะของโรค อาการแสดงหรืออาการเตือน สาเหตุของโรค
เลนส์แก้วตามีความขุ่นมัว ทำให้แสงผ่านเข้าไปที่จอประสาทตาได้น้อยลง  • การมองเห็นภาพไม่ชัด เมื่ออยู่ในที่มีแสงจ้า แต่จะเห็นชัดเมื่อมีแสงน้อยแทน

• มองเห็นภาพคล้ายมีหมอกมาบังตลอดเวลา โดยเฉพาะบริเวณตรงกลางภาพ

อายุเกินกว่า 60 ปีขึ้นไป

• การได้รับรังสียูวีจากแสงแดดจัดบ่อยๆ

• การทานยาสเตอรอยด์

• การขาดสารอาหาร


โรคต้อหิน (Glaucoma)

 ลักษณะของโรค อาการแสดงหรืออาการเตือน สาเหตุของโรค
เส้นประสาทตาถูกทำลาย และความดันในลูกตาสูงขึ้น • ปวดตาและปวดศีรษะอย่างมาก

• คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า

• โดยปกติเกี่ยวข้องกับอายุและกรรมพันธุ์

• ขอบเขตในการมองเห็นแคบลง

• อาจมองเห็นแถบสายรุ้งเมื่อจ้องมองแสง


 โรคจอประสาทตาเสื่อม (Macular degeneration)

 ลักษณะของโรค อาการแสดงหรืออาการเตือน สาเหตุของโรค
บริเวณจุดกลางรับภาพของจอประสาทตา ที่เรียกว่า Macula เสื่อมลง • มองเห็นตรงกลางภาพไม่ชัดเจน พร่ามัว

•ภาพด้านข้างจะยังเห็นได้ดีอยู่

• อาจมองเห็นเหมือนมีจุดดำบังตรงกลางหรือบิดเบี้ยวไป

• ไม่สามารถสนด้ายเข้าเข็มได้

• ความเสื่อมของเซลจากอายุที่มากขึ้น

• การขาดสารอาหาร

• การสูบบุหรี่จัด


โรคดวงตาเมื่อยล้า (Asthenopia)


ลักษณะของโรค

อาการแสดงหรืออาการเตือน

สาเหตุของโรค 

ปวดเมื่อยบริเวณกล้ามเนื้อดวงตา • รู้สึกตาหนักๆ และปวดหน่วงๆ• มีอาการระคายเคือง ตาแดง น้ำตาไหล

• อาจพบความผิดปกติในการมองเห็น เช่น เห็นภาพพร่ามัว หรือเห็นซ้อน

•นอนไม่พอ

•ทำงานในสภาพแสงสว่างไม่เพียงพอ

•การใช้สายตาต่อเนื่อง เช่น ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ หรือเพ่งจอคอมพิวเตอร์นานติดต่อกันหลายชั่วโมง



โรคตาบอดกลางคืน (Night Blindness)

ลักษณะของโรค อาการแสดงหรืออาการเตือน สาเหตุของโรค
มองไม่เห็นเมื่อมีแสงน้อยหรือแสงสลัวๆ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน • มีความผิดปกติในการปรับภาพ เมื่ออยู่ในที่สลัวหรือที่มืแสงน้อย• ตาแห้ง พร่ามัว

• อาจปวดศีรษะร่วมด้วย

• ขาดวิตามิน เอ

•โรคเบาหวานขึ้นตา

•ภาวะทางพันธุกรรม

• มีประวัติเป็นต้อกระจก ต้อหิน หรือมีสายตาสั้นอยู่ก่อน

การถนอมดวงตา

นอกเหนือจากปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากกรรมพันธ์และอายุแล้ว
เราสามารถถนอมดวงตาโดยการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตา
อาทิเช่น การสวมใส่แว่นตากันแสงยูวีทุกครั้งที่ออกกลางแจ้ง เพื่อป้องกันดวงตาถูกปะทะจากลม และแสงแดด

หลีกเลี่ยงการใช้ดวงตา มากเกินไป หลีกเลียงการดูโทรทัศน์
หรือเล่นเกมส์ผ่านทางจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันหลายชั่วโมง

นอกจากนี้การให้ความสำคัญกับสารอาหารในชีวิตประจำวัน
ก็เป็นอีกปัจจัยที่ช่วยถนอมดวงตาให้ใช้งานได้อีกยาวนาน เราจะได้รับวิตามินแร่ธาตุสารอาหารต่างๆจากสารธรรมชาติมาบำรุงฟิ้นฟูดวงตานั่นเอง


สารอาหารเพื่อสุขภาพดวงตา จากผลวิจัยทางการแพทย์

1.วิตามินและแร่ธาติชนิดรวม (Vitamins and Minerals)
วิตามินที่ช่วยในการทำงานของดวงตาลำดับต้นๆ
คงหนีไม่พ้น วิตามินเอ (Vitamin A) และเบต้า-แคโรทีน (Beta-Carotene)
ซึ่งจำเป็นต่อการมองเห็นโดยเฉพาะเวลากลางคืน

วิตามินเอในรูปของเรตินอล (Retinol)
จะเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดสีที่เรียกว่าโรดอฟซิน (Rhodopsin)
ซึ่งอยู่ที่จอประสาทตา โรดอฟซินจะมีความไวต่อแสงแม้เพียงเล็กน้อย
จึงจำเป็นอย่างมากในการมองเห็นเวลากลางคืน

นอกจากนี้ วิตามินเอยังเป็นสารต้านเซลร้าย
ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดต้อกระจก
ในส่วนของวิตามินบี (Vitamin B)
พบว่าการขาดวิตามิน – ปี12 ( Vitamin-B12)
มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดต้อหิน

นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุสังกะสี (Zinc)
ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งวิตามินเอจากตับไปที่จอประสาทตา
ดังนั้นการขาดธาตุสังกะสี อาจก่อให้เกิดความผิดปกติในการมองเห็น
และเสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจกอีกด้วย


2.สารลูทีน (Lutein)
เป็นสารธรรมชาติในกลุ่ม Carotenoids
ซึ่งเป็นรงควัตถุสีเหลืองเข้ม พบได้ในพืชที่มีสีเหลืองรวม
ไปถึงผักใบเขียวเข้มต่างๆ อาทิเช่น ผักโขม ข้าวโพด ดอกดาวเรือง เป็นต้น
และพบที่เซลบริเวณ Macula ในจอประสาทตา
ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการมองเห็นภาพที่อยู่ตรงกลางของส่วนรับภาพ

นอกจากนี้ยังช่วยกรองแสงสีน้ำเงิน
ซึ่งเป็นแสงที่ต่างจากสีอื่นตรงที่ว่า แสงสีน้ำเงินจะกระตุ้นให้เกิดเซลร้าย
ซึ่งเป็นอันตรายต่อจอประสาทตา
เช่น แสงจากหลอดไฟ แสงจากหน้าจอทีวีและคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

นอกจากนี้ลูทีนยังเป็นสารต้านเซลร้าย
ช่วยปกป้องดวงตาจากเซลร้ายที่เกิดขึ้นภายในดวงตา
ซึ่งจะเป็นตัวทำลายเซลรับภาพและทำให้เกิดโรคเกี่ยว
กับจอประสาทตาได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
ขนาดรับประทานที่แนะนำ 20-40 มก.ต่อวัน

Extract-Lutein


3.ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ (Berries)

ผลไม้ในกลุ่มนี้ถือว่าเป็นผลไม้ที่ช่วยบำรุงดวงตาอย่างมาก
โดยเฉพาะบิลเบอรร์รี่ (Bilberry)
เนื่องจากมีสารสำคัญอย่าง Anthocyanosides
ที่ช่วยปกป้องผนังหลอดเลือด และหลอดเลือดฝอยเล็กๆ ที่อยู่ในดวงตา

รวมถึงเพิ่มการไหลเวียนเลือดของเส้นเลือดฝอยในตา
นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติเป็นสารต้านเซลร้ายที่ดีมาก
ช่วยป้องกันการทำลายจากสารเซลร้าย

ซึ่งจะทำให้เกิดความเสื่อมของจอประสาทตา ต้อกระตก และอาการตาบอดกลางคืน
การรับประทานลิลเบอร์รี่เป็นประจำ
นอกจากจะช่วยในเรื่องของสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแล้ว
ยังช่วยทำให้ดวงตาของคุณสดใส มีน้ำหล่อเลี้ยง
แลดูมีสุขภาพดีอยู่เสมออีกด้วย
ขนาดรับประทานที่แนะนำของสารสกัดบิลเบอร์รี่ 60-180 มก.ต่อวัน


4.กรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty acid)
สำหรับกรดไขมันโอเมก้า – 3 ชนิด DHA จะเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง
และระบบประสาทตาที่ดี

โดยปกติน้ำมันชนิดนี้จะพบมากในน้ำมันปลาทะเล (Fish Oil)
ซึ่งช่วยชะลอการเกิดความเสื่อมของจอประสาทตา
ช่วยทำให้ดวงตามีความชุ่มชื้น ป้องกันอาการตาแห้ง
โดยเฉพาะผู้ที่สวมใสคอนแทกส์เลนส์เป็นประจำ

ดังนั้นกรดไขมันจำเป็นดังกล่าว จึงมีส่วนช่วยให้ดวงตามีสุขภาพดี
ขนาดรับประทานที่แนะนำของ DHA 250-500 มก.ต่อวัน

______________________________________________________________________________________

ทั้งหมดคือสารอาหารจากธรรมชาติที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของดวงตา
รวมไปถึงแนวทางในการปฏิบัติตนเองเพื่อป้องกันความผิดปกติ
ที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตาของคุณ และแน่นอนว่าปัจจัยเหล่านี้
ย่อมช่วยถนอมให้คุณมีดวงตาคู่สวยพร้อมกับสุขภาพของดวงตาที่ดีไปอีกนานแสนนาน

Credit: Live Well Guide Magazine

Click! ศึกษาเพิ่มเติม รวมสารอาหารบำรุงสายตาจากทั่วโลกแบบเจล VIS

Open